วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมที่ช่วยผู้ป่วยเบาหวาน

นวัตกรรมผู้ป่วยเบาหวาน



รองเท้าเบาหวาน


ชื่อผลงานนวัตกรรม : รองเท้าเบาหวาน
หน่วยงาน : รพ.สต.ศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ชื่อผู้เสนอผลงาน : นายณัฐชัย  ตะวันนา

หลักการและเหตุผล
          แผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน แผลเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะแผลอาจลุกลามจนทำให้ถูกตัดขาได้  การถูกตัดขาเป็นภาวะที่น่ากลัว ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง เป็นภาระต่อครอบครัว และสังคม รวมทั้งต้องสูญเสียทรัพยากรด้านการแพทย์ และงบประมาณจำนวนมากในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาแดง มีผู้ป่วยเบาหวาน ในปี พ.ศ.2558 ทั้งหมด 130 ราย จากความสำคัญของปัญหาการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น โดยได้ทำการการตรวจเท้า 100%ในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด พบว่ามีระดับเสี่ยงที่ต้องได้รับรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 25 คน  คิดเป็นร้อยละ 19.23

วัตถุประสงค์
          เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลเท้าเชิงป้องกัน และได้รับรองเท้าสำหรับผู้มีปัญหาเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า และเพื่อลดอัตราการเกิดแผลที่เท้า และการถูกตัดขาจากแผลเบาหวาน

สรุปผลการดำเนินงาน
          จากการประเมินหลังใช้  1 เดือน ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ร้อยละ 100 อาการชาลดลง ร้อยละ 70
ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ลดอัตราการเกิดแผลที่เท้า  ลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะและวัสดุอุปกรณ์ในการทำแผล   และลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว  ในการเดินทางซึ่งต้องทำแผลทุกวัน


https://ath.in.th/hdc/2015/07/diabetic-shoes/






นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
จังหวัด: กำแพงเพชร
วันที่ 28 September 2017

สุขภาพ,คุณภาพชีวิต
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ :นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
ชื่อผู้ประดิษฐ์และคิดค้น : นางสาวพันทิพา โฉมโชค รพ.สต.คลองปลาสร้อย 088-8133001
ชื่อผู้นำเสนอนางสาวพันทิพา โฉมโชค แพทย์แผนไทย รพ.สต.คลองปลาสร้อย
                ต.ปางตาไว อ.ปางศิลาทอง จ.กาแพงเพชร E-mail kps_health@hotmail.com 088-8133001

หลักการและเหตุผล:
               จากการสรุปยอดผู้ป่วยโรคเบาหวานประจาปีงบประมาณ 2560 ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปลาสร้อย ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกาแพงเพชร พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปลาสร้อย มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน 98 คน พบว่า มีอาการแทรกซ้อนส่วนใหญ่คือ“อาการชาเท้า” จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าขึ้นเพื่อเป็นการลด อาการชาเท้า ที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า เพิ่มการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นจุด สะท้อนฝ่าเท้าอีกด้วย

วัตถุประสงค์:
               เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการใช้นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าของผู้ป่วย เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
              ขนิษฐา ทุมมา (2549) ได้ศึกษาผลของการนวดเท้าต่อการลดอาการชาเท้าทันทีในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน มีประวัติเป็นโรคเบาหวานนานกว่า 10 ปี ไม่มีแผลที่เท้า ไม่มีเส้นเลือดขอดบริเวณที่ขา มีการรับรู้สติสัมปชัญญะดี สามารถให้ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง จำนวน 33 คนกลุ่มตัวอย่างได้รับการนวดเท้าประมาณ 45 นาที โดยหมอนวดที่แผนไทยที่มีความชำนาญ ผลการวิจัยพบว่าหลังการนวดเท้าเพียงครั้งเดียวอาการชาเท้าลดลงกว่าก่อนนวดเท้า
              สุนิสา บริสุทธ์(2551) ได้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ความรู้ในการดูแลเท้ากับโปรแกรมการ ดูแลเท้าที่ผสมผสานการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลาต่ออาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมทั้งสองกลุ่ม กลุ่มละ 26 คน ผลการศึกษาโปรแกรมการดูแลเท้าที่ผสมผสาน ด้วยการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลา มีประสิทธิภาพในการลดอาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ได้ ดีกว่าโปรแกรมการให้ความรู้การดูแลเท้าเพียงอย่างเดียว

              ศศินี อภิชนกิจ(2552) ศึกษาเรื่องประสิทธิผลของการนวดเท้าด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเท้าชาในผู้ป่วยเบาหวานโดยเป็นการศึกษาประสิทธิผลของการนวดด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจพบว่าเท้าชาอย่างน้อย จุด โดยใช้อุปกรณ์ตรวจคือmonofilament ก่อนและหลังการนวดด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ที่ได้รับการตรวจประเมินเท้า และพบว่าเท้ามีจุดที่ไม่รู้สึกอย่างน้อย จุด และได้รับการ นวดด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทย ครั้งละ 30 นาที จำนวน ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกัน เป็น เวลา สัปดาห์ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อให้การบำบัดด้วยการนวดเท้า ด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยครบ สัปดาห์ พบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาทุกระดับความเสี่ยง มีอาการเท้าชาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ



ให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการชาเท้าและมีอาการชาเท้าทดลองใช้ลูกกลิ้งนวดเท้า ตามลักษณะท่าทางต่างๆ ปัญหาที่พบพบคือ
             1.อุ้งเท้าไม่สัมผัสกับลูกกลิ้ง วิธีการแก้ปัญหาเพิ่มความสูงของลูกกลิ้งเพื่อเพิ่มพื้นผิวสัมผัสที่อุ้งเท้า
             2.ด้านข้างของเท้าทั้งด้านในไม่สัมผัสกับลูกกลิ้ง วิธีการแก้ปัญหาเพิ่มลูกกลิ้งด้านข้าง
             3. ไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย วิธีการแก้ปัญหา เพิ่มหูจับสาหรับเคลื่อนย้าย

การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง:
            โปรแกรมการใช้นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้า ประกอบด้วย
            1.ให้ผู้ป่วยหลับตา กด monofilamentโดยให้เส้นเอ็นตั้งฉากกับผิวหนังบริเวณที่จะตรวจและกดให้ เส้นเอ็นโค้งงอเป็นรูปตัว เป็นเวลา 1-2 วินาที ถามความรู้สึกผู้ป่วยว่ารู้สึก/ไม่รู้สึกบันทึกผลก่อนการรักษา
            2.การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส นาที ด้วยสมุนไพรสดประกอบด้วย ไพล ขมิ้น มะกรูด การบูร เกลือ
            3.คลึงฝ่าเท้าบนลูกกลิ้งข้างละ15 นาทีรวม 30 นาที
            4. ให้ผู้ป่วยหลับตา กด monofilamentโดยให้เส้นเอ็นตั้งฉากกับผิวหนังบริเวณที่จะตรวจและกดให้ เส้นเอ็นโค้งงอเป็นรูปตัว เป็นเวลา 1-2 วินาที ถามความรู้สึกผู้ป่วยว่ารู้สึก/ไม่รู้สึกบันทึกผลการรักษา
            5. แผ่นภาพการนวดเท้าด้วยตัวเองและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเพื่อใช้ ประกอบการสอน
            6. ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาตามวันและเวลาที่กำหนด สัปดาห์ละ ครั้ง ติดต่อกัน สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง

ประโยชน์ของการใช้งาน:
           1.ลดอาการชาเท้า
           2.เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณเท้า
           3.เป็นการกระตุ้นจุดสะท้อนฝ่าเท้า
https://www.ldm.in.th/cases/209

นวัตกรรมลูกแก้วนวดฝ่าเท้า
14 กันยายน 2558

          เท้า เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของร่างกาย ต้องแบกรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายไว้ด้วย ทำให้เท้าของเราต้องรับบทหนักมากกว่าส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะ สาวๆ ที่จำเป็นต้องยืนทั้งวัน ยิ่งต้องดูเท้าเป็นพิเศษ วันนี้ มีวิธีนวดเท้าง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน และใช้เวลาว่างก็สามารถผ่อนคลายกันได้เลย วิธีที่ทำได้ง่ายๆ ก็คือ การใช้ลูกแก้วนวดฝ่าเท้า การใช้ลูกแก้วนวดฝ่าเท้า การนวดฝ่าเท้าด้วยลูกแก้วนั้น เป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลิือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ป้องกันการเกิดอาการมึนชาของเท้า เป็นทางเลือกหนึ่งของคนป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

         อุปกรณ์   
1. ถาด ขนาดกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม.

2. ลูกแก้ว ใช้ประมาณ 100 ลูก

3. เก้าอี้ ที่มีพนักพิง และไม่มีล้อเลื่อน


วิธีทำ
1. นำลูกแก้วมาวางบนถาด โดยใช้ผ้านุ่มๆ รองไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเสียดัง
2. นั่งบนเก้าอี้ แล้ววางเท้าลงบนถาด
3. ทำการนวดเท้าโดยการสลับเท้าไปมา  และสลับซ้ายขวา ไปเรีื่อยๆ ประมาณ 15-20 นาที



นวัตกรรมลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
วันที่ 7 เมษายน 2559

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆโดยจากปัจจัยหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่เป็นไปตามกาลเวลาส่งผลทำให้พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประชากรเกิดการเจ็บป่วยมากเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะอาการชาตามปลายเท้า ซึ่งอาการชานี้อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นที่จะได้รับอุบัติเหตุต่างๆทำให้เกิดบาดแผลที่เท้า ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายเนื้อเยื่อจะตายมีสีคล้ำดำขึ้น จนต้องตัดเท้าที่แห้งดำ นำไปสู่ภาวะพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความผิดปกติอื่นๆตามมา เนื่อง จากภาวะนี้จะทำให้การทำงานของเซลล์ต่างๆผิดปกติ โดยเฉพาะเซลล์ประสาทในระดับเซลล์ น้ำตาลที่มากเกินไปจะกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระของออกซิเจนทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะใหม่นี้ได้เกิดการสะสมของสารประกอบน้ำตาล มีสารประกอบที่ผิดปกติจาก polyol path way เกิดขึ้น และการทำงานของ protein kinase C ผิดปกติ นอกจากนั้น ยังทำให้สารที่จำเป็นต่อการเจริญของเซลล์ประสาทก็ลดลงร่วมกับการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการชาเท้าขึ้นได้อาการชาดังกล่าวสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การนวดเท้าโดยการใช้มือ การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร(โกฐเขมา เถาวัลย์เปรียง พริกไทยล่อน ขิงแห้งการบูร) การนวดเท้าโดยการเดินตามลานนวดเท้า นวดเท้ากดจุดด้วยกะลา เป็นต้น
นวัตกรรมลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาอาการชาที่เท้าหรือบุคคลที่สนใจดูแลสุขภาพตนเอง นวัตกรรมนี้เป็นลานที่ช่วยนวดกดกระตุ้นฝ่าเท้า   ลดอาการเท้าชาจากโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถทำร่วมกับการรักษาด้วยยา และผู้ป่วยสามารถทำลานนวดเท้าได้ด้วยตนเองใช้ที่บ้านได้  

    


    วิธีปฏิบัติ

ลานนวดเท้าประกอบด้วยฐานทั้งหมด5ฐาน ได้แก่ ฐานกะลา ฐานทรายละเอียด ฐานทรายหยาบ ฐานหินกรวด ฐานไม้กลม  โดยนำเอาอิฐบล็อกมาก่อเป็นรูปทางเดินตามความต้องการและนำกะลา ทรายละเอียด ทรายหยาบ หินกรวด และไม้กลม มาไว้ตรงกลางของแต่ละฐาน แล้วตกแต่งด้วยต้นไม้หรือไม้ประดับให้ดูดี


เวลาเดินถอดรองเท้า เดินโดยใช้ฝ่าเท้าเยียบตามทางเดินของแต่ละฐานเพื่อนวดเท้า ควรวนให้ครบทุกฐานที่จัดทำไว้ประมาณ15-30นาที

   ข้อบ่งชี้ ลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
1.กดนวดกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้า
2.ปรับการทำงานของเส้นประสาทบริเวณเท้าให้ทำงานอย่างสมดุล
3.ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
4.นวดเท้าด้วยวิธีการเดิน ช่วยให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย

       ข้อดี
1.
ใช้ในการบรรเทาอาการเท้าชาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2.
ลดการเกิดอุบัติเหตุหรือภาวะแทรกซ้อนจากอาการเท้าชา
3.
ส่งเสริมให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายอยู่ในสภาพสมดุล
4.ส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่สนใจออกกำลังกายด้วยการเดิน
5.
ใช้งบประมาณน้อย

    ข้อเสีย
1.
อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้จากการเดิน
2.
อาจทำให้เกิดแผลบริเวณเท้าได้
3.หากมีแผลที่เท้า ไม่ควรเดินลานนวดเพราะ อาจทำให้แผลติดเชื้อ
4.
ต้องใช้พื้นที่มากในการทำงาน




http://sn203.blogspot.com/2016/04/blog-post_64.html

นวัตกรรมที่ช่วยผู้ป่วยเบาหวาน

นวัตกรรมผู้ป่วยเบาหวาน รองเท้าเบาหวาน July 29, 2558July 29, 2015 คณะกรรมการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร นวัตกรรม ป้องกัน ,  รองเท้า , ...