วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมที่ช่วยผู้ป่วยเบาหวาน

นวัตกรรมผู้ป่วยเบาหวาน



รองเท้าเบาหวาน


ชื่อผลงานนวัตกรรม : รองเท้าเบาหวาน
หน่วยงาน : รพ.สต.ศาลาแดง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ชื่อผู้เสนอผลงาน : นายณัฐชัย  ตะวันนา

หลักการและเหตุผล
          แผลที่เท้าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน แผลเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะแผลอาจลุกลามจนทำให้ถูกตัดขาได้  การถูกตัดขาเป็นภาวะที่น่ากลัว ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตลดลง เป็นภาระต่อครอบครัว และสังคม รวมทั้งต้องสูญเสียทรัพยากรด้านการแพทย์ และงบประมาณจำนวนมากในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี
          โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาแดง มีผู้ป่วยเบาหวาน ในปี พ.ศ.2558 ทั้งหมด 130 ราย จากความสำคัญของปัญหาการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น โดยได้ทำการการตรวจเท้า 100%ในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด พบว่ามีระดับเสี่ยงที่ต้องได้รับรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 25 คน  คิดเป็นร้อยละ 19.23

วัตถุประสงค์
          เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลเท้าเชิงป้องกัน และได้รับรองเท้าสำหรับผู้มีปัญหาเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า และเพื่อลดอัตราการเกิดแผลที่เท้า และการถูกตัดขาจากแผลเบาหวาน

สรุปผลการดำเนินงาน
          จากการประเมินหลังใช้  1 เดือน ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ร้อยละ 100 อาการชาลดลง ร้อยละ 70
ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ลดอัตราการเกิดแผลที่เท้า  ลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะและวัสดุอุปกรณ์ในการทำแผล   และลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว  ในการเดินทางซึ่งต้องทำแผลทุกวัน


https://ath.in.th/hdc/2015/07/diabetic-shoes/






นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
จังหวัด: กำแพงเพชร
วันที่ 28 September 2017

สุขภาพ,คุณภาพชีวิต
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ :นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
ชื่อผู้ประดิษฐ์และคิดค้น : นางสาวพันทิพา โฉมโชค รพ.สต.คลองปลาสร้อย 088-8133001
ชื่อผู้นำเสนอนางสาวพันทิพา โฉมโชค แพทย์แผนไทย รพ.สต.คลองปลาสร้อย
                ต.ปางตาไว อ.ปางศิลาทอง จ.กาแพงเพชร E-mail kps_health@hotmail.com 088-8133001

หลักการและเหตุผล:
               จากการสรุปยอดผู้ป่วยโรคเบาหวานประจาปีงบประมาณ 2560 ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปลาสร้อย ตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกาแพงเพชร พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองปลาสร้อย มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน 98 คน พบว่า มีอาการแทรกซ้อนส่วนใหญ่คือ“อาการชาเท้า” จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าขึ้นเพื่อเป็นการลด อาการชาเท้า ที่เป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า เพิ่มการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นจุด สะท้อนฝ่าเท้าอีกด้วย

วัตถุประสงค์:
               เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการใช้นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้าเพื่อลดอาการชาเท้าของผู้ป่วย เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง:
              ขนิษฐา ทุมมา (2549) ได้ศึกษาผลของการนวดเท้าต่อการลดอาการชาเท้าทันทีในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน มีประวัติเป็นโรคเบาหวานนานกว่า 10 ปี ไม่มีแผลที่เท้า ไม่มีเส้นเลือดขอดบริเวณที่ขา มีการรับรู้สติสัมปชัญญะดี สามารถให้ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง จำนวน 33 คนกลุ่มตัวอย่างได้รับการนวดเท้าประมาณ 45 นาที โดยหมอนวดที่แผนไทยที่มีความชำนาญ ผลการวิจัยพบว่าหลังการนวดเท้าเพียงครั้งเดียวอาการชาเท้าลดลงกว่าก่อนนวดเท้า
              สุนิสา บริสุทธ์(2551) ได้ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของการให้ความรู้ในการดูแลเท้ากับโปรแกรมการ ดูแลเท้าที่ผสมผสานการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลาต่ออาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมทั้งสองกลุ่ม กลุ่มละ 26 คน ผลการศึกษาโปรแกรมการดูแลเท้าที่ผสมผสาน ด้วยการนวดเท้าด้วยการเหยียบกะลา มีประสิทธิภาพในการลดอาการชาที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ได้ ดีกว่าโปรแกรมการให้ความรู้การดูแลเท้าเพียงอย่างเดียว

              ศศินี อภิชนกิจ(2552) ศึกษาเรื่องประสิทธิผลของการนวดเท้าด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเท้าชาในผู้ป่วยเบาหวานโดยเป็นการศึกษาประสิทธิผลของการนวดด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจพบว่าเท้าชาอย่างน้อย จุด โดยใช้อุปกรณ์ตรวจคือmonofilament ก่อนและหลังการนวดด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ที่ได้รับการตรวจประเมินเท้า และพบว่าเท้ามีจุดที่ไม่รู้สึกอย่างน้อย จุด และได้รับการ นวดด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทย ครั้งละ 30 นาที จำนวน ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกัน เป็น เวลา สัปดาห์ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อให้การบำบัดด้วยการนวดเท้า ด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยครบ สัปดาห์ พบว่า กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการเท้าชาทุกระดับความเสี่ยง มีอาการเท้าชาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ



ให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการชาเท้าและมีอาการชาเท้าทดลองใช้ลูกกลิ้งนวดเท้า ตามลักษณะท่าทางต่างๆ ปัญหาที่พบพบคือ
             1.อุ้งเท้าไม่สัมผัสกับลูกกลิ้ง วิธีการแก้ปัญหาเพิ่มความสูงของลูกกลิ้งเพื่อเพิ่มพื้นผิวสัมผัสที่อุ้งเท้า
             2.ด้านข้างของเท้าทั้งด้านในไม่สัมผัสกับลูกกลิ้ง วิธีการแก้ปัญหาเพิ่มลูกกลิ้งด้านข้าง
             3. ไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย วิธีการแก้ปัญหา เพิ่มหูจับสาหรับเคลื่อนย้าย

การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง:
            โปรแกรมการใช้นวัตกรรมลูกกลิ้งนวดเท้า ประกอบด้วย
            1.ให้ผู้ป่วยหลับตา กด monofilamentโดยให้เส้นเอ็นตั้งฉากกับผิวหนังบริเวณที่จะตรวจและกดให้ เส้นเอ็นโค้งงอเป็นรูปตัว เป็นเวลา 1-2 วินาที ถามความรู้สึกผู้ป่วยว่ารู้สึก/ไม่รู้สึกบันทึกผลก่อนการรักษา
            2.การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส นาที ด้วยสมุนไพรสดประกอบด้วย ไพล ขมิ้น มะกรูด การบูร เกลือ
            3.คลึงฝ่าเท้าบนลูกกลิ้งข้างละ15 นาทีรวม 30 นาที
            4. ให้ผู้ป่วยหลับตา กด monofilamentโดยให้เส้นเอ็นตั้งฉากกับผิวหนังบริเวณที่จะตรวจและกดให้ เส้นเอ็นโค้งงอเป็นรูปตัว เป็นเวลา 1-2 วินาที ถามความรู้สึกผู้ป่วยว่ารู้สึก/ไม่รู้สึกบันทึกผลการรักษา
            5. แผ่นภาพการนวดเท้าด้วยตัวเองและการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเพื่อใช้ ประกอบการสอน
            6. ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาตามวันและเวลาที่กำหนด สัปดาห์ละ ครั้ง ติดต่อกัน สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง

ประโยชน์ของการใช้งาน:
           1.ลดอาการชาเท้า
           2.เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณเท้า
           3.เป็นการกระตุ้นจุดสะท้อนฝ่าเท้า
https://www.ldm.in.th/cases/209

นวัตกรรมลูกแก้วนวดฝ่าเท้า
14 กันยายน 2558

          เท้า เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของร่างกาย ต้องแบกรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายไว้ด้วย ทำให้เท้าของเราต้องรับบทหนักมากกว่าส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะ สาวๆ ที่จำเป็นต้องยืนทั้งวัน ยิ่งต้องดูเท้าเป็นพิเศษ วันนี้ มีวิธีนวดเท้าง่ายๆ ที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน และใช้เวลาว่างก็สามารถผ่อนคลายกันได้เลย วิธีที่ทำได้ง่ายๆ ก็คือ การใช้ลูกแก้วนวดฝ่าเท้า การใช้ลูกแก้วนวดฝ่าเท้า การนวดฝ่าเท้าด้วยลูกแก้วนั้น เป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลิือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ป้องกันการเกิดอาการมึนชาของเท้า เป็นทางเลือกหนึ่งของคนป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

         อุปกรณ์   
1. ถาด ขนาดกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม.

2. ลูกแก้ว ใช้ประมาณ 100 ลูก

3. เก้าอี้ ที่มีพนักพิง และไม่มีล้อเลื่อน


วิธีทำ
1. นำลูกแก้วมาวางบนถาด โดยใช้ผ้านุ่มๆ รองไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดเสียดัง
2. นั่งบนเก้าอี้ แล้ววางเท้าลงบนถาด
3. ทำการนวดเท้าโดยการสลับเท้าไปมา  และสลับซ้ายขวา ไปเรีื่อยๆ ประมาณ 15-20 นาที



นวัตกรรมลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
วันที่ 7 เมษายน 2559

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆโดยจากปัจจัยหลายๆอย่างไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่เป็นไปตามกาลเวลาส่งผลทำให้พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ประชากรเกิดการเจ็บป่วยมากเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะอาการชาตามปลายเท้า ซึ่งอาการชานี้อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นที่จะได้รับอุบัติเหตุต่างๆทำให้เกิดบาดแผลที่เท้า ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายเนื้อเยื่อจะตายมีสีคล้ำดำขึ้น จนต้องตัดเท้าที่แห้งดำ นำไปสู่ภาวะพิการ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความผิดปกติอื่นๆตามมา เนื่อง จากภาวะนี้จะทำให้การทำงานของเซลล์ต่างๆผิดปกติ โดยเฉพาะเซลล์ประสาทในระดับเซลล์ น้ำตาลที่มากเกินไปจะกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระของออกซิเจนทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถปรับตัวเข้ากับภาวะใหม่นี้ได้เกิดการสะสมของสารประกอบน้ำตาล มีสารประกอบที่ผิดปกติจาก polyol path way เกิดขึ้น และการทำงานของ protein kinase C ผิดปกติ นอกจากนั้น ยังทำให้สารที่จำเป็นต่อการเจริญของเซลล์ประสาทก็ลดลงร่วมกับการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดอาการชาเท้าขึ้นได้อาการชาดังกล่าวสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การนวดเท้าโดยการใช้มือ การแช่เท้าด้วยน้ำสมุนไพร(โกฐเขมา เถาวัลย์เปรียง พริกไทยล่อน ขิงแห้งการบูร) การนวดเท้าโดยการเดินตามลานนวดเท้า นวดเท้ากดจุดด้วยกะลา เป็นต้น
นวัตกรรมลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาอาการชาที่เท้าหรือบุคคลที่สนใจดูแลสุขภาพตนเอง นวัตกรรมนี้เป็นลานที่ช่วยนวดกดกระตุ้นฝ่าเท้า   ลดอาการเท้าชาจากโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถทำร่วมกับการรักษาด้วยยา และผู้ป่วยสามารถทำลานนวดเท้าได้ด้วยตนเองใช้ที่บ้านได้  

    


    วิธีปฏิบัติ

ลานนวดเท้าประกอบด้วยฐานทั้งหมด5ฐาน ได้แก่ ฐานกะลา ฐานทรายละเอียด ฐานทรายหยาบ ฐานหินกรวด ฐานไม้กลม  โดยนำเอาอิฐบล็อกมาก่อเป็นรูปทางเดินตามความต้องการและนำกะลา ทรายละเอียด ทรายหยาบ หินกรวด และไม้กลม มาไว้ตรงกลางของแต่ละฐาน แล้วตกแต่งด้วยต้นไม้หรือไม้ประดับให้ดูดี


เวลาเดินถอดรองเท้า เดินโดยใช้ฝ่าเท้าเยียบตามทางเดินของแต่ละฐานเพื่อนวดเท้า ควรวนให้ครบทุกฐานที่จัดทำไว้ประมาณ15-30นาที

   ข้อบ่งชี้ ลานนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
1.กดนวดกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้า
2.ปรับการทำงานของเส้นประสาทบริเวณเท้าให้ทำงานอย่างสมดุล
3.ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
4.นวดเท้าด้วยวิธีการเดิน ช่วยให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย

       ข้อดี
1.
ใช้ในการบรรเทาอาการเท้าชาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2.
ลดการเกิดอุบัติเหตุหรือภาวะแทรกซ้อนจากอาการเท้าชา
3.
ส่งเสริมให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายอยู่ในสภาพสมดุล
4.ส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่สนใจออกกำลังกายด้วยการเดิน
5.
ใช้งบประมาณน้อย

    ข้อเสีย
1.
อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้จากการเดิน
2.
อาจทำให้เกิดแผลบริเวณเท้าได้
3.หากมีแผลที่เท้า ไม่ควรเดินลานนวดเพราะ อาจทำให้แผลติดเชื้อ
4.
ต้องใช้พื้นที่มากในการทำงาน




http://sn203.blogspot.com/2016/04/blog-post_64.html

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561



โรคเบาหวาน
โรคไต
โรคหลอดเลือดสมองตีบ
โรคผิวหนังอักเสบ
โรคปวดกล้ามเนื้อ




การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน


                                                                            

                                        โรคเบาหวาน



    โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM, Diabetes) 

      ความหมาย เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น จากข้อมูลของสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation, IDF) พบผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกราว 415 ล้านคนในปี 2558 และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 642 ล้านคนในปี 2583 สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยพบว่า คนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.1 หรือหมายความว่า ในจำนวนคน 100 คน จะพบคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 7 คน และจำนวนมากกว่าครึ่งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน สถิติการพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ยังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงภัยร้ายของโรค เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนลุกลามใหญ่โตจนต้องสูญเสียอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทางสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ และองค์การอนามัยโลก (WHO) จึงได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคนี้
ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ทั้งนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังบ่งบอกถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ด้วย (Prediabetes) ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2  (เบาหวานที่เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น
https://www.pobpad.com






เบาหวานชนิดที่2

     เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ  น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ที่ได้จากการรับประทานอาหาร  ฮอร์โมนอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อนจะช่วยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์สำหรับใช้เป็นพลังงาน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายจะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการ หรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้





 การควบคุมน้ำตาลในเลือด
      ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยอาศัยฮอร์โมนหลักที่เรียกว่า "อินซูลิน" ซึ่งผลิตจากบีตาเซลล์ในตับอ่อน ที่ทำงานอย่างสมดุลร่วมกับ "กลูคากอน" (glucagon) และฮอร์โมนอื่น ได้แก่ โกรทฮอร์โมน (growth hormone) คอร์ติซอล (cortisol) และแคทิคอลามีน (cathecolamine) ทั้งนี้ อินซูลินเป็นฮอร์โมนเพียงชนิดเดียวที่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้  ส่วนกลูคากอนซึ่งผลิตจากแอลฟาเซลล์ในตับอ่อน และฮอร์โมนอื่นๆ ทำหน้าที่ตรงข้ามคือ ส่งเสริมการสร้างน้ำตาล








        อินซูลินควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผ่านการออกฤทธิ์ที่เซลล์หลัก ๓ ชนิด คือ เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมัน การออกฤทธิ์ของอินซูลิน ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของอินซูลินที่มีอยู่ในขณะนั้น หลังรับประทานอาหาร
ระดับอินซูลินจะสูงขึ้นทันทีสอดรับกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น เรียกว่า ระดับอินซูลินสูงสุด (peak insulin level) ถือเป็นการตอบสนองอย่างฉับไวของบีตาเซลล์ต่อระดับน้ำตาลในเลือด ที่สูงขึ้นจากอาหาร และจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหารจบสิ้น ทั้งนี้ ในขณะที่ไม่มีการย่อยอาหารและขณะอดอาหารนานๆ เช่น ช่วงนอนในเวลากลางคืน  ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินในปริมาณน้อยๆ อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ระดับอินซูลินพื้นฐาน (basal insulin level) กระบวนการทำงานของอินซูลินในเซลล์หลัก ๓ ชนิด เป็นดังนี้


๑) ที่เซลล์ตับ
        เมื่อระดับอินซูลินขึ้นสูงจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและการส่งน้ำตาลจากตับ และควบคุมตับ ให้สะสมน้ำตาลที่เหลือจากการใช้งานไว้ในรูปไกลโคเจน เมื่อระดับอินซูลินลดลงสู่ระดับอินซูลินพื้นฐานจะกระตุ้นให้ตับสร้างน้ำตาล  และส่งเข้าสู่กระแสเลือดต่อเนื่องตลอดเวลา

๒) ที่เซลล์กล้ามเนื้อลาย
          อินซูลินออกฤทธิ์โดยนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อลายซึ่งเป็นเซลล์ของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย  เพื่อให้เซลล์กล้ามเนื้อลายใช้เป็นพลังงานในขณะที่มีการใช้งานหรือออกแรงทำงาน ยิ่งมีการออกแรงมาก การใช้น้ำตาลก็จะมากขึ้น  หากไม่มีอินซูลินหรือมีไม่เพียงพอ เซลล์กล้ามเนื้อลายจะไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้แม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงเพียงใดก็ตาม นอกจากนี้ อินซูลินยังช่วยส่งเสริมให้กล้ามเนื้อลายเก็บสะสมน้ำตาลในรูปไกลโคเจนเอาไว้ เพื่อใช้เป็นพลังงานเมื่อกล้ามเนื้อหยุดการทำงานหรือหยุดออกแรง

๓) ที่เซลล์ไขมัน
          เมื่อระดับอินซูลินขึ้นสูงจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกรดไขมันอิสระจากไขมันที่สะสมอยู่ในเซลล์ไขมัน และส่งเสริมการเก็บพลังงานส่วนเกินในรูปกรดไขมันอิสระไว้
ในเซลล์ไขมัน เมื่อระดับอินซูลินลดลงสู่ระดับอินซูลินพื้นฐานจะกระตุ้นให้มีการสลายกรดไขมันอิสระเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งถูกนำไปที่ตับเพื่อสร้างเป็นน้ำตาลต่อไป
ดังนั้น เมื่อมีการขาดอินซูลิน หรือการตอบสนองของเซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ไขมันต่อฤทธิ์ของอินซูลินลดลง จึงทำให้เกิดความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมของน้ำตาล ไขมัน และโปรตีน
http://kanchanapisek.or.th



สาเหตุของเบาหวาน

        สำหรับสาเหตุของโรคเบาหวานนั้น โดยปกติ ระบบการเผาผลาญของร่างกายจะย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในรูปแบบของน้ำตาลกลูโคส และมีฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตได้จากตับอ่อนนำน้ำตาลกลูโคสเหล่านี้ไปเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่ในผู้ป่วยเบาหวาน ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือดได้ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือเนื้อเยื่อเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเบาหวานตามประเภทที่พบโดยทั่วไปได้ดังนี้

เบาหวานประเภทที่ 1

      เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากเบต้าเซลล์ (Beta cells) ของตับอ่อนที่มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ ผู้ป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นต้องได้รับอินซูลินเข้าสู่ร่างกายด้วยการฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาในระยะยาว นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดนี้ยังเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โรคหรือการติดเชื้อที่เกิดกับตับอ่อน โรคเบาหวานประเภทนี้มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยเป็นส่วนใหญ่ แต่มีความเป็นไปได้ในทุกช่วงอายุ ซึ่งอาการของโรคจะมีการพัฒนารวดเร็ว เกิดแบบเฉียบพลัน ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดเบาหวานประเภทนี้ยังไม่แน่ชัด และพบได้ประมาณ 5%



เบาหวานประเภทที่ 2
 
     เป็นโรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะการดื้ออินซูลิน หรือความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินของตับอ่อนน้อยเกินไป โรคเบาหวานประเภทที่ 2 นี้ถือว่าเป็นโรคเบาหวานที่สามารถพบได้มากที่สุดประมาณ 95% โดย มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากปัญหาน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนตั้งแต่เด็ก ขาดการออกกำลังกาย ประวัติการเป็นเบาหวานในครอบครัว และอายุที่มากขึ้น เบาหวานชนิดนี้มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาการของโรคจะมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลานาน


เบาหวานขณะตั้งครรภ์

      เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะตั้งครรภ์เท่านั้น โดยผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติการเป็นโรคเบาหวานมากก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จนเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าเกณฑ์ปกติ และมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี นอกจากนี้เบาหวานยังสามารถเกิดได้จากโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น เบาหวานจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง เบาหวานจากโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ฮอร์โมนผิดปกติจากการใช้ยาบางชนิด เป็นต้น


อาการของโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานในระยะแรกส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการผิดปกติ ในบางรายอาจตรวจพบโรคเบาหวานเมื่อเป็นมานานโดยไม่รู้ตัวและเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นแล้ว ซึ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 มักมีอาการที่คล้ายกันมาก โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 มักมีอาการแบบเฉียบพลัน อาการจะมีความรุนแรงมากหากขาดอินซูลิน อาจทำให้เกิดการคั่งของสารคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 จะมีลักษณะอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่พบได้ในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุ
สัญญาณบ่งบอกของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 มักพบได้จากอาการเหล่านี้

   1.ปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก - เมื่อฮอร์โมนอินซูลินที่ตับอ่อนผลิตได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถผลิตได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ปกติ และไตไม่สามารถกรองน้ำตาลส่วนเกินกลับเข้าสู่เลือด จึงปล่อยออกมาพร้อมน้ำกลายเป็นปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมาก

   2.กระหายน้ำ - เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อยครั้ง ร่างกายจึงจำเป็นต้องชดเชยน้ำที่เสียไป ทำให้มีความกระหายน้ำ อยากดื่มน้ำมากกว่าปกติ

   3.หิวบ่อย - เมื่อฮอร์โมนอินซูลินในเลือดทำงานไม่ปกติหรือร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เซลล์ไม่ได้รับพลังงาน ร่างกายจึงพยายามหาแหล่งอาหารมากขึ้นด้วยการส่งสัญญาณออกมาด้วยอาการหิว

  4.น้ำหนักลดลงผิดปกติ - เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือมีไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้ รวมทั้งยังไปสลายเอาโปรตีนและไขมันมาใช้แทน

  5.เหนื่อยง่าย - เมื่อน้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานได้ ผู้ป่วยจึงเหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลีย

  6.พร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด - เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตาจนจอตาเกิดอาการผิดปกติ หรือมีระดับน้ำตาลสูงมาเป็นเวลานานจนเกิดความผิดปกติของจอตา ในบางรายที่อาการรุนแรง อาจมีปัญหาสายตาระยะยาวถึงขั้นตาบอด

    ในขณะที่อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์จะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่มีหน้าที่ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู่ป่วยอาจรู้สึกกระหายน้ำมากและปัสสาวะบ่อย แต่อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์พบได้น้อย และการวินิจฉัยจากการสังเกตจากอาการอาจทำได้ยาก เพราะมีความคล้ายคลึงกับอาการของการตั้งครรภ์ปกติ

     อาการของโรคเบาหวานเรื้อรังที่เป็นมานานอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หงุดหงิด บาดแผลหายช้าหรือหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง เพราะน้ำตาลในเลือดที่มากเกินไป ทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมแผลเป็นไปได้ช้า มีอาการผิดปกติในช่องปาก เช่น เหงือกบวมแดง มีเลือดหรือหนองออก เหงือกร่น เหงือกมีอาการติดเชื้อหรือเป็นโรค เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดี มีอาการชา โดยเฉพาะมือและเท้า คล้ายเข็มทิ่ม เนื่องจากเส้นประสาทได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น






การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

     การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาศัยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย ทั้งนี้การตรวจเลือดสามารถทำได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่อนี้
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานตามที่กล่าวมาอย่างชัดเจน และตรวจเลือดเวลาใดก็ได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หากมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน

    1.การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ผู้ป่วยต้องงดรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ โดยมักตรวจในตอนเช้า หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน

    2.การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมปริมาณได้ดีมากน้อยแค่ไหน เมื่อฮีโมโกลบินทำปฏิกิริยากับน้ำตาลในเลือดจึงทำให้เกิดฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี ขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดมากก็จะพบฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี มากเช่นกัน ซึ่งค่าที่ได้หากพบตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 

   3.การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test: OGTT) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังการดื่มน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคสละลายอยู่ 75 กรัม หากพบระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ทั้งนี้การวินิจฉัยที่กล่าวมานี้ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 เป็นหลัก เนื่องจากการตรวจโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีเกณฑ์และรายละเอียดในการวินิจฉัยที่แตกต่างกันออกไป
   นอกจากนี้ระดับน้ำตาลในเลือดยังสามารถบ่งบอกว่าผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานหรือไม่ โดยดูจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่ยังไม่สูงถึงเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะการเป็นเบาหวานสามารถพัฒนาการเกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน

    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก (Microvascular complications) และโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular complications) นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานควรระวังการเกิดบาดแผลหรือการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากบาดแผลของผู้ป่วยเบาหวานจะหายช้า อาจก่อให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานมีดังนี้

    1.โรคแทรกซ้อนทางด้านตา เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจนเกิดการคั่งของน้ำตาลในเลนส์ตา ทำให้จอตาผิดปกติ โรคที่พบส่วนมากในผู้ป่วยเบาหวาน คือ เบาหวานขึ้นตา (Retinopathy) ต้อกระจก (Cataracts) ต้อหิน (Glaucoma) หรือปัญหาทางด้านสายตา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการมองเห็นจนถึงขั้นตาบอดได้ โดยในช่วงแรกอาการจะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปจนผู้ป่วยไม่ระวัง จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสายตาจากจักษุแพทย์เป็นประจำ

   2.โรคทางระบบเส้นเลือดและหัวใจ เมื่อระดับน้ำตาลถูกสะสมในเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดการหนาตัวของเส้นเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ เป็นผลให้เส้นเลือดแคบลงและอาจเกิดการอุดตัน นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสของเส้นเลือดแข็งได้เช่นกัน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก (Angina) หัวใจขาดเลือด (Heart Attack) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Artery Disease) เป็นต้น ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเส้นเลือดและหัวใจได้มากกว่าคนปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอัตราการเสียชีวิตและพิการได้สูงมากกว่าคนทั่วไปจากภาวะแทรกซ้อนนี้

   3.โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเรื้อรังสามารถก่อให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาททั่วร่างกายขั้นปานกลางถึงรุนแรง เมื่อเกิดแผลขึ้นในบริเวณต่าง ๆ จึงรับความรู้สึกได้น้อยลง เนื่องจากปลายประสาทเกิดอักเสบ ทำให้เกิดอาการชา และประกอบกับการไหลเวียนของเส้นเลือดไม่ดี แผลจึงเกิดการลุกลามได้ง่าย และอาจต้องตัดอวัยวะบริเวณนั้นทิ้ง โดยโรคที่พบได้บ่อย คือ ปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) ที่ส่งผลต่อการรับความรู้สึกหรือความเจ็บปวดที่มือหรือเท้าบกพร่อง มีอาการชา รวมไปถึงระบบการย่อยอาหารที่ผิดปกติ ปัญหาด้านการขับถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น

4.โรคแทรกซ้อนทางไต เป็นโรคสำคัญอีกโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่มีมากขึ้นกว่าคนปกติ ทำให้ไตทำงานผิดปกติ มีโปรตีนเล็ดลอดออกทางปัสสาวะ ซึ่งในระยะแรกจะไม่สามารถตรวจพบโรคแทรกซ้อนนี้ได้จากการตรวจเลือด แต่จะตรวจพบได้จากปริมาณโปรตีนที่มากขึ้นในปัสสาวะ หากไตอยู่ในภาวะการทำงานหนักเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เกิดภาวะไตวายได้

5.โรคเกี่ยวกับช่องปากและฟัน เนื่องจากความผิดปกติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะส่งผลต่อการอักเสบเนื้อเยื่อรอบฟัน มีโอกาสมากที่จะเป็นโรคปริทันต์หรือโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟัน

6.โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้นหรือทารกในครรภ์อาจจะเสียชีวิตได้ ทารกอาจมีน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดลำบาก และมีโอกาสเกิดอันตรายระหว่างการคลอดได้สูงขึ้น

7.โรคทางด้านผิวหนัง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อรา อาการคัน หรือปัญหาผิวอื่น ๆ
https://www.pobpad.com






การรักษาโรคเบาหวาน

   เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้วสามารถควบคุมอาการของโรคและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ในการรักษาโรคเบาหวานนั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ โดยการควบคุมการรับประทานที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมอาจทำให้อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้


การรักษาตามประเภทของโรคเบาหวานได้ดังนี้
 
     ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อการนำน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายตั้งแต่ในระยะแรก ๆ ไปจนตลอดชีวิตการฉีดอินซูลิน ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ชนิดของฮอร์โมนอินซูลินที่แบ่งตามการออกฤทธิ์ที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานปัจจุบัน

   1.ประเภทออกฤทธิ์เร็ว (Rapid Acting Insulin) เป็นยาออกฤทธิ์สั้น เริ่มออกฤทธิ์หลังการฉีด 15 นาที ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 1 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นาน 2-4 ชั่วโมง เช่น อินซูลิน กลูลิซีน (Insulin Glulisine) อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro) อินซูลิน แอสพาร์ (Insulin Aspart)

  2.ประเภทออกฤทธิ์ในช่วงปกติ (Regular or Short-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์นานขึ้นภายใน 30 นาทีหลังการฉีด ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุดใน 2-3 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นานขึ้น 3-6 ชั่วโมง เช่น เรกูลาร์ อินซูลิน (Regular insulin)

 3.ประเภทออกฤทธิ์นานขึ้นในระดับกลาง (Intermediate-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ได้ภายใน 2-4 นาทีหลังการฉีด ระดับยาเพิ่มขึ้นสูงสุด 4-12 ชั่วโมงและออกฤทธิ์ได้นานถึง 12-18 ชั่วโมง เช่น เอ็นพีเอช อินซูลิน (NPH)

4.ประเภทออกฤทธิ์นาน (Long-acting Insulin) สามารถออกฤทธิ์ในการรักษานานมากกว่า 24 ชั่วโมงขึ้นไป แต่ใช้ระยะเวลาการดูดซึมในร่างกายนานหลายชั่วโมง เช่น อินซูลิน ดีทีเมี่ยร์ (Insulin Detemir) หรืออินซูลิน กลาร์จีน (Insulin Glargine)





ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2

     การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 จะใช้ยาที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดโดยการเพิ่มการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินให้ดีขึ้น และเพิ่มการใช้น้ำตาลกลูโคสในร่างกายมากขึ้น เช่น ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ยาในกลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylureas) ไบกัวไนด์ (Biguanide), ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ยาแอลฟา-กลูโคซิเดส อินฮิบิเตอร์ (Alpha-glucosidase Inhibitor) เป็นต้น นอกจากนี้ในบางรายอาจมีการฉีดอินซูลินในกรณีที่การรับประทานยาไม่ได้ผล

เบาหวานในขณะตั้งครรภ์

      ผู้ป่วยควรเข้ารับการฝากครรภ์และพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำ พร้อมทั้งพยายามควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับแม่และทารกในครรภ์ โดยจำเป็นต้องมีการควบคุมอาหารที่รับประทานอย่างเข้มงวด เช่น ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลลง เพิ่มการรับประทานโปรตีน ผักและผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติหวานจัดหรือไขมันสูง เป็นต้น พร้อมทั้งมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนตั้งครรภ์ควบคู่กัน โดยการปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ หากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ผลดีด้วยการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดอินซูลินเพิ่มเติม





การรักษาด้วยสมุนไพร

     นอกเหนือจากการรักษาโรคเบาหวานตามการแพทย์แผนปัจจุบัน ยังมีการรักษาตามแพทย์แผนทางเลือกมาช่วยเสริมในหลายหลายวิธี เพื่อช่วยให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวถึงพืชสมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและยังใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น

    1.ตำลึง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนจากต้น อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ วิตามินและแร่ธาตุสูง โดยมีสรรพคุณสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยในเรื่องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนที่นิยมนำมาใช้จะเป็นส่วนใบ ซึ่งใบแก่จะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าใบอ่อน ราก และผล อีกทั้งยังช่วยบำรุงสายตา ป้องกันตามัว เนื่องจากการขาดวิตามินเอ

    2.มะระขี้นก ช่วยในการเจริญอาหาร ขับพยาธิ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ น้ำคั้นสดมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ และยังมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานเช่นเดียวกับผักตำลึง โดยมีการออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนอินซูลินที่ยับยั้งการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสที่มากขึ้นในตับ รวมทั้งยังช่วยชะลอการเกิดต้อกระจก ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบแปรรูปเป็นแคปซูลและผงแห้ง ชงเป็นชาดื่ม หรือคั้นเป็นน้ำ แต่ไม่ควรรับประทานผลสด เพราะอาจก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน 

   3.มะแว้งต้น ผลสุกของมะแว้งต้นจะช่วยในเรื่องแก้ไอ ขับเสมหะ และมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดหรือแบบลวก แต่ควรระมัดระวังหากมีการรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 1 เดือน ซึ่งอาจมีผลเสียต่อระบบประสาทในร่างกาย

  4.ฟ้าทะลายโจร สามารถใช้ได้หลายส่วน โดยส่วนรากจะช่วยในเรื่องการเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้ไข้ ส่วนลำต้นเป็นยาบำรุง แก้อาการท้องร่วง และส่วนใบเป็นส่วนที่นำมาใช้ในการลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ กระเพาะ ลำไส้อักเสบ
https://www.pobpad.com












        

















นวัตกรรมที่ช่วยผู้ป่วยเบาหวาน

นวัตกรรมผู้ป่วยเบาหวาน รองเท้าเบาหวาน July 29, 2558July 29, 2015 คณะกรรมการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร นวัตกรรม ป้องกัน ,  รองเท้า , ...